วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ) วัดบางวัวเทพเจ้าของชาวบางปะกง

หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ เป็นชาวบางวัวโดยกำเนิดเกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พศ.๒๔๒๐ ณ.บ้านเกาะหลังวัดบางวัว อ.บางปะกง บิดาชื่อเหมมารดาชื่อล้วน นามสกุลเหมล้วน มีพี่น้อง๑๖คน หลวงพ่อเป็นบุตรคนที่ ๘ ในวัยเด็กบิดาได้นำมาเข้าวัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือที่วัดบางวัวพออายุครบบวช จึงได้อุปสมบท ณ.วัดบางวัว เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พศ.๒๔๔๐ โดยมีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร วัดบางสมัคร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า"คงฺคสุวณฺโณ"
         พระครูพิบูลย์คณารักษ์ หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ



        หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร วัดบางสมัคร
          
เมื่ออุปสมบทได้สองพรรษาหลวงพ่อดิ่งท่านได้มีความต้องการที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีจึงได้ย้ายไปเป็นศิษย์ในสำนักเรียนวัดสามจีนใต้หรือวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งในขณะนั้นพระครูวิริยะกิจจการีหรือหลวงพ่อโม ธมฺมธโร เป็นเจ้าอาวาส 


ภาพพระพุทธทศพลญาณ หลวงพ่อโต วัดสามจีนใต้ พระประธานใน       
พระอุโบสถวัดสามจีนในสมัยที่หลวงพ่อดิ่งไปอยู่จำพรรษาเมื่อพศ.๒๔๔๓


  ภาพพระครูวิริยะกิจจการี "หลวงพ่อโม วัดสามจีน"เทพเจ้าลั๊กกั๊ก
   พระอาจารย์ด้านวิชาคงกระพันชาตรีของหลวงพ่อดิ่งวัดบางวัว


    ภาพหลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ เมื่อสมัยเป็นศิษย์วัดสามจีน(วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร)
    (เครดิตภาพของคุณพิชา ศรีวัธนะวรชัย)

               พระพุทธทศพลญาณในปัจจุบัน

       พระหลวงพ่อโมวัดสามจีนสร้างราว.ศ.๒๔๕๐กว่าๆ

อันสำนักวัดสามจีนย่านเยาวราชครั้งสมัยที่หลวงพ่อดิ่งไปอยู่จำพรรษานั้น เป็นสำนักสักยันต์คงกระพันชาตรีที่มีชื่อเสียงโดยมีหลวงพ่อโม ธมฺมธโรเป็นเจ้าสำนัก มีลูกหลานชาวจีนย่านเยาวราชสำเพ็งให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสศรัทธาเข้ามาสักยันต์เป็นจำนวนมากมีสมญานามว่าสำนัก"ลั๊กกั๊ก" มีชื่อเสียงคู่กันมากับสำนักเก้ายอดวัดอัมพวันโดยมีเจ้าสำนักที่ชื่อว่า"หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด"ผู้โด่งดัง และความไม่ธรรมดาอีกประการหนึ่งของหลวงพ่อโมวัดสามจีนก็คือ ท่านเป็นพระคณาจารย์เพียงไม่กี่องค์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสเป็นการส่วนพระองค์ และได้รับพระราชทานนิมนต์ในการพระราชพิธีสำคัญๆอยู่บ่อยครั้ง เช่นงานพุทธามังคลาภิเศกพระพุทธชินราชจำลองพระประธานพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ครั้งนั้นว่ากันว่ามีพระคนาจารย์ที่รัชกาลที่๕ท่านทรงศรัทธาเชื่อมั่นเลื่อมใสจริงๆ จำนวน๙รูปเท่านั้นนั่งปรกพุทธาภิเศก และอีกงานก็คืองานรัชมังคลาภิเศก รศ.๑๒๗ได้รับพระราชทานพัดรัชมังคลาภิเศก"นารายณ์ทรงครุฑ" และอีกประการที่สำคัญยิ่งก็คือ เมื่อเสด็จกลับจากยุโรปรศ.๑๒๖ทรงพระราชทานถวายพระบรมรูปประทับยืนโลหะหล่อจากอิตาลี่ขนาด ๒๕ นิ้วเป็นของพระราชทานฝากจากยุโรปปรากฏอยู่ในรูปหมู่ด้านหน้าพระประธาน นี่เป็นความไม่ธรรมดาแห่งพระอาจารย์ด้านวิชาคงกระพันชาตรีของหลวงพ่อดิ่งวัดบางวัวบางปะกง ซึ่งท่านได้อยู่ศึกษาวิชาพุทธาคมในสำนักวัดสามจีนนี้ได้๑พรรษาเต็มๆ พอดีหลวงพ่อเปียวัดบางวัวมรณภาพวัดไม่มีเจ้าอาวาสท่านจึงต้องกลับมาเป็นเจ้าอาวาสดูแลรักษาวัดบางวัวในราวปีพศ.๒๔๔๕

         หลวงพ่อดิ่งเมื่อแรกเป็นพระอธิการสมภารวัดบางวัว

ตามประวัติของหลวงพ่อที่ปรากฏในหลายกระแสกล่าวว่าพระอาจารย์ที่ท่านศึกษาพุทธาคมด้วยมีอยู่๓ท่านคือ ๑, หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร ๒, หลวงพ่อพระครูเปิ้น พุทฺธสโร วัดบ้านเก่า ๓,หลวงพ่อเป๊อะ (สุดใจ) วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ พระประแดง
แต่ถ้าจะพิจารณาตามหลักการและเหตุผลแล้ว การที่หลวงพ่อดิ่งท่านไปอยู่จำพรรษาที่วัดสามจีน ก็เพื่อศึกษาวิชาความรู้ และในสำนักวัดสามจีนในขณะนั้นก็เพียบพร้อมทั้งฝ่ายปริยัติและวิชาพุทธาคม ซึ่งองค์หลวงพ่อดิ่งท่านเองก็เป็นผู้ที่ไปเพื่อศึกษา มีหรือที่ท่านไปอยู่พำนักตั้งหนึ่งพรรษาจะไม่ได้วิชาพุทธาคมสายหลวงพ่อโมวัดสามจีนเลย เพราะฉนั้นพิจารณาตามหลักการและเหตุผลแล้วพระอาจารย์ของหลวงพ่อดิ่งท่านนอกจาก ๓ ปรมาจารย์ที่เอ่ยนามมาแล้ว หลวงพ่อโมวัดสามจีนน่าจะเป็นปรมาจารย์อีกองค์หนึ่งของหลวงพ่อดิ่งอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะพระเครื่องของหลวงพ่อดิ่งท่านปรากฏว่ามีกิตติคุณไปในทางคงกระพันชาตรีเป็นที่เลื่องลือตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


             หลวงพ่อพระครูเปิ้น พุทฺธสโร วัดบ้านเก่า
   

       หลวงปู่สุดใจ วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ พระประแดง









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น