วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระครูเขมาภิราม หลวงพ่อสมหวังร่ำรวย

รูปรุ่นแรก สร้างเมื่อ พศ.๒๕๔๗

สายสัมพันธ์ไทย-จีน

 
รำลึกบรรพบุรุษ และญาติสนิท
รุ่นสู่รุ่น
 
กราบพระยามเช้าขอพรมงคล  
เทพเจ้ากวนอู
มังกรนำโชค
มังกรมหาอำนาจ 
ทายาท

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่ฮก รตินฺธโร วัดราษฎร์เรืองสุข บ้านมาบลำบิด ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึงจ.ชลบุรี "เมตตาคุณํ อรหํ เมตตา"ในความศรัทธาของสท.แฮ

 
 
 
    พระกริ่งรุ่นแรก
 
 
 
 
 
เช้าวันศุกร์ปลุกศรัทธาปสาธก พระเนื้อหยกแกะเป็นองค์ได้ทรงสวย 
หลวงปู่ฮกเสกพลังสมหวังร่ำรวย ท่านอำนวยด้วยเมตตานุภาพเอย...
 
 
 
"อย่าไปสนใจในสิ่งที่มองไม่เห็น" ณ.เดือนเพ็ญเห็นอร่ามอารามสลวย ท่านเมตตาบอกว่าแบ่งกันรวย แบ่งเหรียญสวยให้บูชาด้วยกรุณาเอย.
    
    เมตตาคุณํ พระอรหํแผ่เมตตา น้อมกายน้อมวาจา รับเมตตาพระอรหันต์ 
    จะเจริญรุ่งเรือง คุณเครื่องอนันต์ มงคลทั้งนั้น พระอรหันต์แผ่เมตตา....
 
 
     ขอบารมี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
   ภาพเก่าเล่าความหลัง พระอรหํแผ่เมตตา ตั้งใจตั้งศรัทธา รับเมตตาจิตตั้งมั่น 
   หลวงปู่มอบผ้าไตร คือธงชัยพระอรหันต์ ปลุกเสกทับทิมจันทร์ โรยสีผึ้งพลันด้วยกรุณา
    สาธุสุปฏิปันโน รตินฺธโรมหาเถรา น้อมกายน้อมวาจา กราบบูชา"รตินฺธโร
 
 
 
 
 
 
 
 
ก่อนจะนอนหลับตาว่านะโม ขอแอบโชว์เหรียญลายเซ็นบ้างนะท่าน
ไม่ได้เหรียญ"วิสุทธิพรหมจรรย์" ฮก นะ ฮก ก็แล้วกันนะท่านเอย.
 
 
 
ส่งท้ายวันพุธด้วยเขียวเกี่ยวทรัพย์ ก่อนจะหลับเพราะหมดวันปัญจถรน์ 
กราบพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์แล้วลงนอน น้อมขอพรหลวงปู่ฮกปรกเมตตา 
ขออำนาจยันต์เขียวเชี่ยวชาญช่วย คุ้งครองด้วยป้องกันภัยไร้ทุกขา
ดับเร่าร้อนให้พักผ่อนย่อนกายา แผ่รักษาตลอดรุ่งวันพรุ่งเอย...
 
 
น้ำใจใหลนองจากร้านทองทวีโชค แจกรูปหลวงปู่ฮกมาช่วยปกปักรักษา
ขอเมตตาคุณํพระอรหํแผ่เมตตา ให้เงินทองใหลมาก้าวหน้าสมดังคิด
ให้แคล้วคลาดปลอดภัย ทั้งใกล้ใกลทั่วทิศ หลวงปู่ฮกปรกประสิทธิ์ ด้วยจิตตานุภาพเอย...
 
 
 
 
 
 
แม้นหวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ หลวงปู่ฮกปรกประทับ เทพศาสตราแผ่บารมี 
ป้องกันภยันตราย อีกภูติพรายร้ายกาลี ช่วยปราบกำราบผี ปัดคุณไสยไม่แผ้วพาล....

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ) วัดบางวัวเทพเจ้าของชาวบางปะกง

หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ เป็นชาวบางวัวโดยกำเนิดเกิดเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พศ.๒๔๒๐ ณ.บ้านเกาะหลังวัดบางวัว อ.บางปะกง บิดาชื่อเหมมารดาชื่อล้วน นามสกุลเหมล้วน มีพี่น้อง๑๖คน หลวงพ่อเป็นบุตรคนที่ ๘ ในวัยเด็กบิดาได้นำมาเข้าวัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือที่วัดบางวัวพออายุครบบวช จึงได้อุปสมบท ณ.วัดบางวัว เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พศ.๒๔๔๐ โดยมีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร วัดบางสมัคร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ่าง วัดบางสมัคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อปลอด วัดบางวัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า"คงฺคสุวณฺโณ"
         พระครูพิบูลย์คณารักษ์ หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ



        หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร วัดบางสมัคร
          
เมื่ออุปสมบทได้สองพรรษาหลวงพ่อดิ่งท่านได้มีความต้องการที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีจึงได้ย้ายไปเป็นศิษย์ในสำนักเรียนวัดสามจีนใต้หรือวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งในขณะนั้นพระครูวิริยะกิจจการีหรือหลวงพ่อโม ธมฺมธโร เป็นเจ้าอาวาส 


ภาพพระพุทธทศพลญาณ หลวงพ่อโต วัดสามจีนใต้ พระประธานใน       
พระอุโบสถวัดสามจีนในสมัยที่หลวงพ่อดิ่งไปอยู่จำพรรษาเมื่อพศ.๒๔๔๓


  ภาพพระครูวิริยะกิจจการี "หลวงพ่อโม วัดสามจีน"เทพเจ้าลั๊กกั๊ก
   พระอาจารย์ด้านวิชาคงกระพันชาตรีของหลวงพ่อดิ่งวัดบางวัว


    ภาพหลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ เมื่อสมัยเป็นศิษย์วัดสามจีน(วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร)
    (เครดิตภาพของคุณพิชา ศรีวัธนะวรชัย)

               พระพุทธทศพลญาณในปัจจุบัน

       พระหลวงพ่อโมวัดสามจีนสร้างราว.ศ.๒๔๕๐กว่าๆ

อันสำนักวัดสามจีนย่านเยาวราชครั้งสมัยที่หลวงพ่อดิ่งไปอยู่จำพรรษานั้น เป็นสำนักสักยันต์คงกระพันชาตรีที่มีชื่อเสียงโดยมีหลวงพ่อโม ธมฺมธโรเป็นเจ้าสำนัก มีลูกหลานชาวจีนย่านเยาวราชสำเพ็งให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสศรัทธาเข้ามาสักยันต์เป็นจำนวนมากมีสมญานามว่าสำนัก"ลั๊กกั๊ก" มีชื่อเสียงคู่กันมากับสำนักเก้ายอดวัดอัมพวันโดยมีเจ้าสำนักที่ชื่อว่า"หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด"ผู้โด่งดัง และความไม่ธรรมดาอีกประการหนึ่งของหลวงพ่อโมวัดสามจีนก็คือ ท่านเป็นพระคณาจารย์เพียงไม่กี่องค์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสเป็นการส่วนพระองค์ และได้รับพระราชทานนิมนต์ในการพระราชพิธีสำคัญๆอยู่บ่อยครั้ง เช่นงานพุทธามังคลาภิเศกพระพุทธชินราชจำลองพระประธานพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ครั้งนั้นว่ากันว่ามีพระคนาจารย์ที่รัชกาลที่๕ท่านทรงศรัทธาเชื่อมั่นเลื่อมใสจริงๆ จำนวน๙รูปเท่านั้นนั่งปรกพุทธาภิเศก และอีกงานก็คืองานรัชมังคลาภิเศก รศ.๑๒๗ได้รับพระราชทานพัดรัชมังคลาภิเศก"นารายณ์ทรงครุฑ" และอีกประการที่สำคัญยิ่งก็คือ เมื่อเสด็จกลับจากยุโรปรศ.๑๒๖ทรงพระราชทานถวายพระบรมรูปประทับยืนโลหะหล่อจากอิตาลี่ขนาด ๒๕ นิ้วเป็นของพระราชทานฝากจากยุโรปปรากฏอยู่ในรูปหมู่ด้านหน้าพระประธาน นี่เป็นความไม่ธรรมดาแห่งพระอาจารย์ด้านวิชาคงกระพันชาตรีของหลวงพ่อดิ่งวัดบางวัวบางปะกง ซึ่งท่านได้อยู่ศึกษาวิชาพุทธาคมในสำนักวัดสามจีนนี้ได้๑พรรษาเต็มๆ พอดีหลวงพ่อเปียวัดบางวัวมรณภาพวัดไม่มีเจ้าอาวาสท่านจึงต้องกลับมาเป็นเจ้าอาวาสดูแลรักษาวัดบางวัวในราวปีพศ.๒๔๔๕

         หลวงพ่อดิ่งเมื่อแรกเป็นพระอธิการสมภารวัดบางวัว

ตามประวัติของหลวงพ่อที่ปรากฏในหลายกระแสกล่าวว่าพระอาจารย์ที่ท่านศึกษาพุทธาคมด้วยมีอยู่๓ท่านคือ ๑, หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร ๒, หลวงพ่อพระครูเปิ้น พุทฺธสโร วัดบ้านเก่า ๓,หลวงพ่อเป๊อะ (สุดใจ) วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ พระประแดง
แต่ถ้าจะพิจารณาตามหลักการและเหตุผลแล้ว การที่หลวงพ่อดิ่งท่านไปอยู่จำพรรษาที่วัดสามจีน ก็เพื่อศึกษาวิชาความรู้ และในสำนักวัดสามจีนในขณะนั้นก็เพียบพร้อมทั้งฝ่ายปริยัติและวิชาพุทธาคม ซึ่งองค์หลวงพ่อดิ่งท่านเองก็เป็นผู้ที่ไปเพื่อศึกษา มีหรือที่ท่านไปอยู่พำนักตั้งหนึ่งพรรษาจะไม่ได้วิชาพุทธาคมสายหลวงพ่อโมวัดสามจีนเลย เพราะฉนั้นพิจารณาตามหลักการและเหตุผลแล้วพระอาจารย์ของหลวงพ่อดิ่งท่านนอกจาก ๓ ปรมาจารย์ที่เอ่ยนามมาแล้ว หลวงพ่อโมวัดสามจีนน่าจะเป็นปรมาจารย์อีกองค์หนึ่งของหลวงพ่อดิ่งอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะพระเครื่องของหลวงพ่อดิ่งท่านปรากฏว่ามีกิตติคุณไปในทางคงกระพันชาตรีเป็นที่เลื่องลือตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


             หลวงพ่อพระครูเปิ้น พุทฺธสโร วัดบ้านเก่า
   

       หลวงปู่สุดใจ วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ พระประแดง









วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กับตำนานวิชาพุทธาคมสายหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย

พระเดชพระคุณหลวงหลวงพ่อดิษฐ์ท่านนี้ไม่ธรรมดา เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปาน เป็นอาจารย์หลวงพ่อดิ่ง เมื่อแรกอุปสมบทอยู่จำพรรษาศึกษาพุทธาคมอยู่ในสำนักวัดบางเหี้ยมงคลโคธาวาสกับท่านพระครูพิพัฒนิโรธกิจ(หลวงพ่อปาน ติสโร) และได้ร่วมเดินธุดงค์กับคณะพระกัมมัฏฐานของหลวงพ่อปาน ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีเป็นประจำ จนแก่กล้าในวิชาพุทธาคมสายหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ว่ากันว่าท่านเป็นพระผู้ทรงอภิญญารูปหนึ่งที่เดียว ต่อมาได้ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร และเป็นพระอุปัชฌาย์ มีสัทธิวิหาริกศิษยานุศิษย์มากมายเช่นท่านพระครูสาครสมานคุณ(หลวงพ่อรักษ์)วัดกลางบางปะกงอดีตเจ้าคณะอำเภอบางปะกง และลูกศิษย์รูปสำคัญอีกรูปหนึ่งก็คือท่านพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ) พระคุณเจ้ารูปนี้หลวงพ่อดิษฐ์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์และถ่ายทอดวิชาพุทธาคมสายหลวงพ่อปานให้ และหลวงพ่อดิ่งท่านก็ศึกษาวิชาอาคมสืบทอดแผ่บารมีจนเป็นที่ปรากฏยิ่งใหญ่ไพศาล จนกระทั่งปัจจุบันนี้วิชาพุทธาคมสายหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยที่หลวงพ่อดิ่งวัดบางวัวท่านสืบทอดมาจากหลวงพ่อดิษฐ์วัดบางสมัครนั้นก็ได้รับการสืบสานตกทอดมายังพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลสุทธิคุณ(หลวงปู่ฟู อติภทฺโท ปธ.๔) เจ้าอาวาสวัดบางสมัครรูปปัจจุบัน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณหลวงปู่ฟูรูปนี้เป็นสัทธิวิหาริกที่หลวงพ่อดิ่งท่านเป็นอุปัชฌาย์บวชให้และถ่ายทอดวิชาพุทธาคมที่ท่านศึกษามาจากหลวงพ่อดิษฐ์ประสิทธิ์ประสาทให้  และท่านเจ้าคุณหลวงปู่ฟูท่านก็ได้ใช้วิชาพุทธาคมที่ท่านได้รับสืบทอดกลับมาสงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ศิษยานุศิษย์ด้วยจิตรานุภาพแห่งความเมตตา จนบารมีของท่านแผ่ไพศาล กล่าวได้ว่าหลวงพ่อดิษฐ์หลวงพ่อดิ่งท่านเป็นเทพเจ้าของชาวบางปะกงฉันใด ท่านเจ้าคุณหลวงปู่ฟูท่านก็เป็น มหามงคลของคนบางปะกงฉันนั้น สมดังราชทินนามของท่านที่ว่า"พระมงคลสุทธิคุณ"

                 หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ดิษฐ์ พรหมฺสโร



                                                     รูปหล่อโบราณหลวงพ่อดิษฐ์


     หลวงพ่อดิษฐ์อีกอิริยาบทหนึ่ง


       ท่านพระครูพิบูลย์คณารักษ์ หลวงพ่อดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ       ท่านพระครูสาครสมานคุณ(หลวงพ่อรักษ์วัดกลางบางปะกง)



             พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณหลวงปู่พระมงคลสุทธิคุณ (หลวงปู่ฟู อติภทฺโท ปธ.๔)

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เหรียญหลวงพ่อปาน วัดสองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

เป็นเหรียญที่ระลึกในงานยกช่อฟ้า และหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อปาน สร้างเมื่อพศ. ๒๔๙๗ ท่านเจ้าอาวาสในสมัยน้ันได้นำเข้าร่วมในพิธีปลุกเสกหลวงพ่อโสธรรุ่น ๒๔๙๗ ณ.พระอุโบสถวัดโสธรวรารามด้วย เป็นการอัญเชิญพุทธบารมีแห่งองค์หลวงพ่อพระพุทธโสธรและอภิญญาบารมีของหลวงพ่อปานและของพระเกจิคณาจารย์แก่กล้าพุทธาคมที่เข้าร่วมนั่งปรกในครั้งนั้นบรรจุไว้ในเหรียญรุ่นนี้ จึงมีประสพการณ์มากมาย เป็นที่เสาะแสวงหา มีราคาค่านิยมหลักพันถึงหมื่นตามเนื้อพระและสภาพของเหรียญ และในครั้งนี้ได้สร้างแหวนรูปหลวงพ่อปานไว้อีกแบบหนึ่งด้วย การเช่าหาควรระมัดระวังให้ดีเพราะมีของปลอมออกมานานแล้ว ฝีมือใกล้เคียงนะครับพี่น้อง.